Organizational Transformation Program (OTP)

  • ระยะเวลา: 6-12 เดือน

  • จำนวนผู้เรียน: ทุกคนในองค์กร

โครงการ OTP มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการพลิกเปลี่ยนองค์กร (Organizational Transformation) โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากสมาชิกทุกคนในองค์กรที่ช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงตนเอง นับตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง ตลอดจนพนักงานระดับปฏิบัติการ โครงการนี้อาศัยโมเดล 5C พลิกเปลี่ยนองค์กรที่ปลูกรักออกแบบขึ้น เป็นกรอบการพัฒนาพฤติกรรมพึงประสงค์ใน 5 ด้าน

ปลูกรักได้ออกแบบหลักสูตร OTP ให้มีลักษณะผสมผสานระหว่างโครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) และโครงการพัฒนา (Developmental Program) โดยดำเนินการสัมภาษณ์รายบุคคลกับผู้บริหาร (In-Depth Interview) และสัมภาษณ์กลุ่มตัวแทนพนักงาน (Focus Group) เพื่อร่วมกันสำรวจปัญหาหลักๆที่องค์กรต้องการแก้ไขร่วมกันเพื่อสร้างการพลิกเปลี่ยนองค์กร และนำเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกคนในวัน Kick Off เพื่อกำหนดเป้าหมายเชิงพฤติกรรมร่วมกัน

หลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงสร้างพัฒนาการในระดับบุคคล โดยเข้ารับการอบรมแบ่งเป็น 3 โมดูล โมดูลละ 2 วัน คือผู้เรียนจะได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นลำดับขั้นตอนและเป็นรอบๆ ตามโมเดลการเรียนรู้ 70:20:10

  • วันแรก: เรียนรู้เนื้อหาและฝึกฝนทักษะเป็นสัดส่วน 10
  • วันทีสอง: เรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเองและรับ feedback เป็นสัดส่วน 20
  • การบ้าน: เรียนรู้จากการนำไปประยุกต์ใช้กับหน้างานจริงที่ตนเองทำงานเป็นสัดส่วน 70

แล้วนำกลับประสบการณ์จากการบ้านกลับมาส่งในโมดูลต่อไป

การเรียนรู้ในหลักสูตรนี้มุ่งเน้นสร้างประสบการณ์บวกให้เกิดขึ้นกับสมาชิกที่เลือกเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง (Behavior Switching) และช่วยกันแสดงพฤติกรรมพึงประสงค์จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร แนวทางการเปลี่ยนพฤติกรรมอาศัยหลักวิทยาศาสตร์สมอง ผู้เรียนจะผ่านประสบการณ์สร้างการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายในสู่ภายนอก กล่าวคือ จากภายในสมองและกรอบความคิด สู่ภายนอกเป็นพฤติกรรม ประเด็นการเรียนรู้หลักๆของแต่ละโมดูลได้แก่

โมดูลที่ 1: พัฒนาระบบสมองส่วนหน้าที่ทำหน้ากำกับดูแลอารมณ์และสร้างความรักความเมตตา (Emotional Regulation & Self-Compassion)

  • สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) กับหน้าที่บริหาร (Executive Functions)
  • การพัฒนาระบบรักษาสมดุล-ผ่อนคลาย (Soothing Systems)
  • การพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการเชื่อมโยงสัมพันธ์ (Core Competency: Connection)
  • การพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการสื่อสาร (Core Competency: Communication)
  • การพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการทำงานร่วมกัน (Core Competency: Collaboration)

โมดูลที่ 2: พัฒนากรอบความคิดเติบโตและการมีความมุ่งมั่นพยายาม (Growth Mindset & Grit)

  • สมองส่วนลิมบิก (Limbic Systems) กับปฏิกิริยาทางอารมณ์ ความทรงจำระยะยาว และการสร้างนิสัยใหม่
  • ระบบสมองตรวจจับอันตราย (Treat Systems) และระบบสมองตามหาแรงจูงใจ (Drive Systems)
  • การวิเคราะห์ระบบภูมิต้านทานการเปลี่ยนแปลงของตนเอง (Immunity to Change) และสร้างกรอบความคิดเติบโตต่อการเปลี่ยนแปลง (Growth Mindset)
  • การพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการเปลี่ยนแปลง (Core Competency: Change)
  • การพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการทำตามคำมั่นสัญญา (Core Competency: Commitment)

โมดูลที่ 3: พัฒนาวัฒนธรรมองค์กรที่เสริมสร้างแรงจูงใจและร่วมทุกข์ร่วมสุข (Motivating & Engaged Culture)

  • รวมพลังการเปลี่ยนแปลงจากทุกคนสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่ใช้แรงจูงใจแทนสั่งการ (Motivating)
  • ร่วมกันวางระบบให้รางวัลด้วย “เงินชนิดที่สอง” ที่มอบความสุขและความหมายของชีวิต (“Intrinsic” Reward Systems) ได้แก่ การให้ feedback การให้ recognition และการให้ trust
  • รวมพลังการพัฒนาสมองส่วนหน้าจากทุกคนสร้างวัฒนธรรมองค์กรร่วมทุกข์ร่วมสุข (Engaged)
  • รวมพลังการพัฒนาสมรรถนะ 5C จากทุกคน ไปสู่เป้าหมายเดียวกันขององค์กร
  • ทุกคนให้คำมั่นสัญญาต่อกันที่จะดูแลรักษาวัฒนธรรมใหม่ให้ยั่งยืน
กลับไป
LINE
Call
Messenger