Mental Health Coaching
คืออะไรและแตกต่างจาก Psychotherapy อย่างไร
Mental Health Coaching หรือ “การโค้ชด้านสุขภาพจิต” คือ การช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้รับบริการพัฒนาศักยภาพการดูแลจิตใจตนเองให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ แตกต่างจาก Psychotherapy หรือ “การทำจิตบำบัด” ซึ่งเป็นการเยียวยารักษาบาดแผลทางจิตใจที่เกิดขึ้นในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ ความแตกต่างของสองบริการนี้อยู่ตรงที่ “ช่วงเวลา” ของการทำงาน โค้ชเน้นทำงานกับ “ปัจจุบัน-อนาคต” ในขณะที่จิตบำบัดเน้นทำงานกับ “อดีต-ปัจจุบัน”
จุดโฟกัสของการโค้ชด้านสุขภาพจิต :
ปัจจุบันสู่อนาคต
การโค้ชด้านสุขภาพจิตจะมุ่งเน้นทำงานกับ “ช่องว่าง” (Gaps) จากปัจจุบันสู่อนาคต เปรียบเสมือนการ “สร้างสะพาน” ข้ามช่องว่างระหว่างสิ่งที่อยากจะเป็น (อนาคต) กับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ (ปัจจุบัน) เมื่อผู้รับบริการโค้ชด้านสุขภาพจิตตั้งเป้าหมายว่าตนเองต้องการพัฒนาทักษะหรือคุณสมบัติอะไรเพื่อให้มีความสามารถดูแลสุขภาพจิตตนเองได้ในอนาคต โค้ชก็จะใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อช่วยปรับ/เปลี่ยน/สร้าง ความเชื่อ พฤติกรรม และนิสัยเดิมในปัจจุบันที่บ่อนทำลายสุขภาพจิต ให้เกิดเป็นความเชื่อ พฤติกรรม และนิสัยใหม่ที่ส่งเสริมต่อการมีสุขภาพจิตที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
จุดโฟกัสของการทำจิตบำบัด :
อดีตสู่ปัจจุบัน
ในขณะที่การทำจิตบำบัดจะมุ่งเน้นทำงานกับ “ผลกระทบ” (Impacts) จากอดีตที่มีต่อปัจจุบัน และ/หรือทำงานกับ “ความทรงจำ” (Memories) ในอดีตที่ดึงรั้งไม่ให้ใช้ชีวิตและทำงานในปัจจุบันได้อย่างเป็นปกติ เมื่อผู้รับบริการจิตบำบัดตั้งเป้าหมายการบำบัดแล้ว นักจิตบำบัดก็จะใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อช่วยลด/ลบ/ล้าง ผลกระทบหรือความทรงจำเหล่านั้น ไม่ให้กลับมารบกวนการใช้ชีวิตในปัจจุบันของผู้รับบริการอีก การทำจิตบำบัดจะช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีรากฐานที่มั่นคงในการสร้างอนาคตของตนเองต่อไป
สิ่งที่โค้ชไม่สามารถทำได้ในการโค้ชด้านสุขภาพจิต
- โค้ชไม่สามารถวินิจฉัยโรคหรืออาการทางจิตให้กับผู้รับบริการได้
- การโค้ชไม่ใช่การเยียวยารักษาโรค/อาการทางจิต
- โค้ชไม่สามารถจ่ายยาหรือแนะนำตัวยาใดๆให้กับผู้รับบริการ
สิ่งที่โค้ชสามารถทำได้ในการโค้ชด้านสุขภาพจิต
- โค้ชให้การรับฟังอย่างใส่ใจกับผู้รับบริการ และช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้รับบริการได้รับการตอบสนองความต้องการทางจิตใจ
- โค้ชใช้การสอบถามพูดคุยเพื่อช่วยให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ถึงวิธีคิด/วิธีทำที่กำลังบ่อนทำลายสุขภาพจิตตนเอง และใช้เทคนิคและเครื่องมือการโค้ชต่างๆเพื่อช่วยปรับ เปลี่ยน และสร้างวิธีคิด/วิธีทำใหม่ๆที่ส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น การเขียนวิเคราะห์ตนเอง ไพ่การ์ดสะท้อนตนเอง จินตนาการ การเปรียบเปรย การวาดภาพ การสร้างภาพสามมิติ เป็นต้น
- โค้ชให้การบ้านผู้รับบริการเพื่อทดลองปรับ เปลี่ยน และสร้างพฤติกรรมและนิสัยใหม่ที่ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี
ประสิทธิภาพของการโค้ชด้านสุขภาพจิตเมื่อเทียบกับการทำจิตบำบัด
แม้ว่าการโค้ชด้านสุขภาพจิตจะไม่ใช่การเยียวยารักษาโรคทางจิต แต่ งานวิจัยในช่วงโควิด-19 ชิ้นนี้ พบว่าการโค้ชด้านสุขภาพจิตมีประสิทธิภาพในการเพิ่มสุขภาวะที่ดี (Well-being) ของผู้รับบริการได้ดีเทียบเท่ากับการทำจิตบำบัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเด็นสุขภาพจิตเช่น ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ที่นำมาสู่การรับบริการยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือไม่ได้เกิดอย่างเรื้อรัง
กระบวนการโค้ชด้านสุขภาพจิตในภาพรวม
ผู้รับบริการจะผ่านขั้นตอนการโค้ชเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตโดยเริ่มต้นจาก
- ตั้งเป้าหมายการพัฒนาสุขภาพจิต
- สำรวจอุปสรรคหรือข้อจำกัดขัดขวาง/บ่อนทำลายสุขภาพจิต
- หาทางออกใหม่ๆในการมีสุขภาพจิตที่ดีที่ผู้รับบริการจะสามารถทำได้เองอย่างยั่งยืน
- ทดลองทำและสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงทั้งระหว่างและหลังการโค้ชแต่ละครั้ง
เมื่อผู้รับบริการได้เข้าสู่กระบวนการโค้ช 1-4 ดังกล่าวหลายรอบตามระยะเวลาที่ตกลงกัน ผู้รับบริการจะเกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการตระหนักรู้ในตนเอง (Self Awareness) และการบริหารจัดการตนเอง (Self Management) อันเป็นกุญแจสำคัญของความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพจิตได้ด้วยตนเองต่อไปในอนาคต
ประเด็นปัญหาที่พบบ่อยและนำมาสู่การโค้ชด้านสุขภาพจิต
- การบริหารจัดการความเครียด (Stress Management)
- การหันกลับมารักและดูแลตัวเอง (Self Love/Self Care)
- การกำกับดูแลอารมณ์ตนเอง (Emotional Self Regulation)
- การเพิ่มความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Confidence/Self-Esteem)
- การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง (Healthy Relationships)
- การรับมือกับภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อย (Mild Depression)
- การดูแลความกังวลในการแสดงผลงาน (Performance Anxiety)
- การค้นหาความหมายและเป้าหมายในชีวิต (Meaning and Purpose of Life)
- การปรับปรุงนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง (Procastination)
- การสร้างขอบเขตที่เหมาะสมให้กับตัวเอง (Set Healthy Boundaries)
ใครบ้างที่เหมาะกับการโค้ชด้านสุขภาพจิต
- พนักงานองค์กรผู้ที่ประสบปัญหาเหนื่อยล้าจากการทำงาน (Burnout) ขาดแรงจูงใจ หรือเครียดในการทำงาน
- ผู้ที่กำลังประสบปัญหาการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ซึ่งไปกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือขัดขวางความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- ผู้ที่ขาดความมั่นใจในตนเองว่าจะทำได้ ไม่กล้าต้อนรับความท้าทายใหม่ๆ ไม่กล้าออกจาก Comfort Zone
- ผู้ที่ประสบปัญหาในการเข้าสังคม หรือมีความยากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และต้องการพัฒนาทักษะ Social Skills
- ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพจิต และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ได้โดยไม่ต้องใช้ยา
- ผู้ที่ประสบปัญหาวิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis) และต้องการค้นหาความหมายชีวิตและเป้าหมายในการทำงาน
- ผู้ที่มีความรักในการพัฒนาตนเอง ต้องการดูแลสุขภาพจิตควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพกายในแบบองค์รวม
ทำไมจึงต้องมี Mental Health Coach ในสังคม
การโค้ชด้านสุขภาพจิต ไม่ได้มาแทนที่การรักษาเยียวยาทางจิตเวช (Psychiatry) หรือการทำจิตบำบัต (Psychotherapy) แต่เป็นการช่วยส่งเสริมระบบการดูสุขภาพจิตของคนในสังคมให้ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น การโค้ชด้านสุขภาพจิตจะมีส่วนช่วยป้องกันและแบ่งเบาโหลดในระบบ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และยากจะเตรียมตัวรับมือทัน ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี AI การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โรคระบาด เป็นต้น สภาพสังคมหลังโควิด 19 มีความเปราะบางและอ่อนไหวมากขึ้น และต่อไปในอนาคตอันใกล้ประเด็นสุขภาพจิตจะเป็นเรื่องของทุกคนในสังคม ไม่ต่างจากประเด็นสุขภาพกาย ซึ่งมีผลสืบเนื่องต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของคนรุ่นต่อๆไป
Transformative Approach :
1. One-on-One Coaching (as an ICF Professional Coach) :
- Results Coaching (Brain-based Coaching)
- Immunity to Change Coaching
- Enneagram Coaching
- Creative Coaching (with LEGO® SERIOUS® PLAY)
2. One-on-One Therapy (as a Certified NSST Therapist) :
- Neuroscience and Satir in the Sand Tray (NSST)
- Satir Transformational Systemic Therapy (STST)
3. Group Facilitation Framework (as an IAF Facilitator) :
- Adult Development (Constructive Developmental Theory)
- Integral Theory & Practice
- NeuroLeadership (Brain-based Leadership)
- Mindfulness Practice (Theravada Buddhism)
- Agile Frameworks & Leadership
ประกาศนียบัตร / CERTIFICATE
- Gamification Online Course
- How to Be a More Congruent, Competent, and Confident Facilitator, Jennifer Nagel
- Vidhantasa Samadhi (Online) Diploma
- Certified Therapist in the Foundations of Neuroscience and Satir in the Sand Tray, Dr. Madeleine De Little, Ph.D. Founder, NSST
- Creative Coaching (LEGO® SERIOUS® PLAY)
- Masterclass on Agile Frameworks: Building Blocks, Benefits and Application in Practice, Dr. Markus Nini, CQ Net – Cooperational Excellence OG
- Masterclass on the foundations of agility, agile leadership and how to implement it
- The foundation of NeuroLeadership
- Brain-based Coaching
- Neuroplasticity : How to Rewire Your Brain
- Action Learning Coach
- The Enneagram Professional Training Program
- The Enneagram Growth Experience (EGE)
- The Journey of Growth (Level)
- Immunity to Change
Credentials
ปริญญาเอก : Ph.D. (Integrated Sciences จากโครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาโท : เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) (M.Econ.) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาตรี : เศรษฐศาสตร์บัณฑิต (ศ.บ.) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักสูตรการอบรม
- Gamification Online Course, The Wharton School University of Pennsylvania
- How to Be a More Congruent, Competent, and Confident Facilitator, Jennifer Nagel, Satir Association for Human Development and Psychotherapy and Satir Society of Thailand
- Neuroscience and Satir in the Sand Tray – Foundations Certificate Program จาก Dr.Madeleine De Little
- Facilitator – Creative Coaching (LEGO® SERIOUS® PLAY Methods and Materials), StrategicPlay Group
- Masterclass on the foundations of agility, agile leadership and how to implement it จาก CQ Net – Cooperational Excellence OG
- The foundation of NeuroLeadership จาก NeuroLeadership Institute
- Brain-based Coaching จาก NeuroLeadership Group
- Neuroplasticity : How to Rewire Your Brain จาก Brain Academy
- Action Learning Coach จาก WIAL
- The Enneagram Professional Training Program จาก The Enneagram Institute
- The Enneagram Growth Experience (EGE) จาก The Enneagram Institute
- The Journey of Growth (Level) จาก The Enneagram Institute
- Immunity to Change จาก Prof.Dr. Robert Kegan and Dr. Lisa Lahey, Harvard University
- Subject-Object Interview จาก Jennifer Garvey Berger, Growth Edge Network
- ทฤษฎีบูรณาการ จาก Ken Wilber Integral Institute
- Interpersonal Neurobiology (Dan Siegel)
- Basic Satir therapy in the Sand Tray ตามแนวทาง Madeleine De Little จากสมาคมพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตบำบัดตามแนวซาเทียร์
- Satir Therapy in the Sand Tray Advance Topic ตามแนวทาง Madeleine De Little จากสมาคมพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตบำบัดตามแนวซาเทียร์
- โครงการฝึกอบรม การทำจิตบำบัดตามแนวซาเทียร์ STST Level I Phase I & Level II Phase II จากสมาคมพัฒนาศักยภาพมนุษย๋และจิตบำบัดตามแนวซาเทียร์
ประสบการณ์การทำงาน
- อาจารย์ประจำศูนย์ จิตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัย มหิดล
- นักวิจัยด้านจิตปัญญาศึกษา
- อาจารย์พิเศษในภาครัฐและเอกชน
- นักเขียนด้านการพัฒนากรอบความคิดของคน ให้กับกลุ่มจิตวิวัฒน์ สำหรับ นสพ.มติชน
- กระบวนกรและวิทยากรให้กับภาครัฐและเอกชน
คุณสามารถติดต่อหาเราเพื่อเริ่มต้นกระบวนการโค้ชด้านสุขภาพจิต