Facilitator Development Program (FDP)

  • ระยะเวลา: 3 โมดูล โมดูลละ 2 วัน (ภายใน 2-4 เดือน)
  • จำนวนผู้เรียน: ประมาณ 24-32 คนต่อรุ่น

โครงการ FDP มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคนในองค์กรให้มีทักษะและขีดความสามารถในการจัดกระบวนการและสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้คนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเติบโตไปในทิศทางบวก องค์กรที่มี “ฟา” (Facilitator) ภายในเป็นของตนเองเปรียบเสมือนติดตั้งเครื่องมือกลไลที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง หลายองค์กรที่ปลูกรักร่วมงานด้วยได้นำเอาหลักสูตรนี้ไปใช้ในประเด็นสำคัญๆ ได้แก่ การขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร (culture & core values) การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านคน (soft skill development) การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) การเตรียมคนให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร (ready to change) เป็นต้น

ปลูกรักได้ออกแบบหลักสูตร FDP ให้มีลักษณะเป็นโครงการพัฒนา (Developmental Program) แบ่งเป็น 3 โมดูล โมดูลละ 2 วัน คือผู้เรียนจะได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นลำดับขั้นตอนและเป็นรอบๆ ตามโมเดลการเรียนรู้ 70:20:10

  • วันแรก: เรียนรู้เนื้อหาและฝึกฝนทักษะเป็นสัดส่วน 10
  • วันทีสอง: เรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเองและรับ feedback เป็นสัดส่วน 20
  • การบ้าน: เรียนรู้จากการนำไปประยุกต์ใช้กับหน้างานจริงที่ตนเองทำงานเป็นสัดส่วน 70 แล้วนำกลับประสบการณ์จากการบ้านกลับมาส่งในโมดูลต่อไป

การเรียนรู้ในหลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่การสร้างประสบการณ์ตรงให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อจุดประกายไฟแห่งการเรียนรู้ (curiosity) มากกว่าการจดจำความรู้ (knowledge) ด้วยเหตุนี้จากโมดูลที่ 1-3 ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ที่มีความท้าทายเพิ่มขึ้นทีละขั้น นำเอาการเรียนรู้ประสบการณ์หนึ่งเป็นฐาน แล้วต่อยอดไปสู่ประสบการณ์ต่อไป ผู้เรียนจึงรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของตนเองและเพื่อนผู้เรียนร่วมรุ่น (เช่น จากไม่กล้าพูดในที่สาธารณะก็กล้าพูดมากขึ้น จากไม่มั่นใจในตนเองก็มั่นใจมากขึ้น จากเคยเป็นฝ่ายพูดก็เริ่มเป็นฝ่ายฟังมากขึ้น) ประเด็นการเรียนรู้หลักๆของแต่ละโมดูลได้แก่

โมดูลที่ 1: Foundation of Facilitation

  • นิยาม ความหมาย และหัวใจของ “ฟา”
  • กรอบความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของคน
  • แผนที่บูรณาการสำหรับ “ฟา” (Integral Map)
  • การปรากฎกายของ “ฟา” (Music Dance Word)
  • ฝึกทักษะรับฟัง-สะท้อน
  • การออกแบบกระบวนการเรียนรู้เป็น 4 Stages

โมดูลที่ 2: Managing Resistance to Learn

  • ธรรมชาติของคน พลังชีวิต และแรงต้านต่อการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง
  • กรอบความคิดเกี่ยวกับแรงต้าน
  • ผู้เรียน 4 สไตล์
  • ฝึกทักษะถาม-ชื่นชม
  • การเต้นรำไปกับแรงต้าน (dancing with resistance)
  • การใช้ “แรงม้วน” แทน “แรงตรง” ในการบริหารแรงต้าน

โมดูลที่ 3: Mindset Work for Facilitator

  • การแบ่งประเภทกรอบความคิด (Fixed vs Growth Mindset)
  • ฝึกทักษะสรุป-เชื่อมโยง
  • ค้นหาจุดเปลี่ยนของตนเองในการเป็นฟา
  • การวิเคราะห์กรอบความคิดตนเองโดยใช้เครื่องมือ Mindset Mapping
  • เสียงในหัว (inner voices) กับการคุยกับตัวเอง (self-talk)
  • หลักวิทยาศาสตร์สมองของการเปลี่ยนกรอบความคิด
กลับไป
LINE
Call
Messenger