Agile Mindset
Agile Mindset
เปลี่ยนแปลงวิธีคิดและวิธีทำงานของคุณด้วยกรอบ ความคิดแบบ Agile! จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ปลดล็อคนวัตกรรม สร้างความสำเร็จร่วมไปกับลูกค้า
Agile Mindset คืออะไร

กรอบความคิดแบบคล่องตัว (Agile Mindset) คือชุดค่านิยมและหลักการที่ให้แนวทางการทำงานแก่บุคคลและทีม โดยเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เน้นการทำงานร่วมกัน เพื่อนำส่งคุณค่าตั้งแต่เนิ่นๆ สม่ำเสมอ และพร้อมปรับเปลี่ยนได้ไว

ทำไม Agile Mindset จึงสำคัญกับโลกการทำงานในยุคนี้

ไม่ว่าจะมองยุคนี้ว่าเป็นยุค VUCA ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรุนแรงหรือ ยุค BANI ที่มีความเปราะบางและคาดเดาได้ยาก Agile Mindset ของพนักงานจะช่วยให้งค์กรอยู่รอดและธุรกิจเติบโตได้ เนื่องจาก

  1. Customer-Centric Focus : วิธีการทำงานแบบ Agile อาศัยการนำส่งคุณค่าถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อรับ
    ฟัง feedback จากประสบการณ์การใช้สินค้าบริการ แล้วนำมาปรับปรุง จึงทำให้พนักงานคำนึงถึงความพึงพอใจ
    สูงสุดของลูกค้าอยู่เสมอ ส่งผลให้ธุรกิจมีโอกาสสูงในการขึ้นนำตลาด
  2. Increased Innovation & Adaptability : แนวทาง Agile ส่งเสริมวัฒนธรรมการทดลอง เรียนรู้ และต้อนรับการเปลี่ยนแปลง ด้วยวัฒนธรรมแบบนี้องค์กรจึงสามารถตอบสนองได้อย่างว่องไวต่อการพลิกผันของตลาด
    ทำให้องค์กรมีโอกาสสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่และปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจได้ทันการณ์หรือเป็นเชิงรุกได้ก่อน
  3. Improved Efficiency & Productivity : ทีมงาน Agile ร่วมมือกันทำงานและสื่อสารอย่างชัดเจน เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้นในแต่ละรอบงาน (iterations) นำมาซึ่งการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพลดทอนขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อนและล่าช้าเป็นคอขวด ก้าวข้ามข้อจำกัดอันเกิดจากการทำงานแบบ Silo
  4. Continuous Improvement : กรอบความคิดแบu Agile มุ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ความผิดพลาด
    และ feedback แล้วนำมาปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการ พัฒนากระบวนการผลิต การร่วมงานข้ามสาย และการสื่อสารข้ามทีม เมื่อคนใช้กรอบความคิดนี้อยู่เสมอ จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนาจากรุ่น
    สู่รุ่น
  5. Employee Engagement & Empowerment : บรรยากาศการทำงานแบบ Agile นั้นเต็มไปด้วยพลังบวกและกระตุ้นความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน เนื่องจากการปรับโครงสร้างการทำงานแนวดิ่งตามสายบังคับบัญชา มาสู่การทำงานเป็นแนวนอนตามบทบาทหน้าที่ภายใน Agile Team ด้วยเหตุนี้สมาชิกจึงรู้สึกมีคุณค่าและพร้อมมีส่วนร่วม

การพัฒนากรอบความคิดแบบคล่องตัว (Agile Mindset) ให้เกิดขึ้นในองค์กรจึงสามารถสร้างพลวัตการทำงานที่คนได้รู้สึกสนุกตื่นเต้นกับความท้าทายใหม่ๆ กระตุ้นความกระหายใคร่รู้ และความเห็นอกเห็นใจลูกค้า อันเป็นการขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจจากพลังความคิดสร้างสรรค์ของคน เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จขององค์กร

เราจะพัฒนา Agile Mindset ให้เกิดขึ้นในที่ทำงานได้อย่างไร

การพัฒนาให้เกิดกรอบความคิดแบบคล่องตัว (Agile Mindset) อาศัยการสร้างวัฒนธรรมที่ต้อนรับคุณค่าและหลักการ Agile ซึ่งต้องการองค์ประกอบหลายอย่างที่มีความซับซ้อน นับตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน หรือแม้กระทั่งอาจต้องปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ ด้วยแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นระบบ การเปลี่ยนแปลงในระดับ Transformation นี้จึงจะเกิดได้จริง

  1. Leadership Commitment: ผู้นำในองค์กรแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างต่อการยึดมั่นในคุณค่า Agile และใช้หลักการ Agile ในการตัดสินใจและลงมือปฏิบัติในการทำงานแต่ละวัน พร้อมกันนั้นก็ให้การสนับสนุนทั้งกำลังใจและงบประมาณในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงนี้ จัดหารัพยากรที่จำเป็น และกระจายอำนาจสู่หน่วยงานต่างๆในองค์กร
  2. Comprehensive Education and Training: จัดให้มีการอบรมคุณค่าและหลักการ Agile ไม่ใช่แค่เฉพาะกับพนักงานระดับผู้จัดการ หรือทีมผลิตเท่านั้น แต่อบรมกับแผนกต่างๆอย่างทั่วถึง และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ให้กลายเป็นปกติที่จะมีส่งพนักงานเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา และคอร์สออนไลน์
  3. Organizational Structure Adjustments: ปรับโครงสร้างองค์กรที่สอดรับไปกับกระบวนการทำงานแบบ Agile ซึ่งประกอบไปด้วยการสร้างทีมข้ามสายงาน (cross-functional teams) ลดการทำงานแบบต่างคนต่างทำ (Silos) ปรับโครงสร้างให้มีลำดับชั้นบังคับบัญชาแคบลง แล้วส่งเสริมการสื่อสารและร่วมงานจากทุกฝ่ายมากขึ้น
  4. Foster a Collaborative Environment: ออกแบบสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ส่งเสริมการร่วมมือกันทำงาน เช่น พื้นที่ทำงานแบบเปิด การเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการได้มากขึ้น การสนับสนุนอุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดการเข้าใจที่ตรงกัน การสื่อสารแบบ real-time และโปร่งใส เช่น โปรแกรมซอฟต์แวร์ กระดาน กระดาษ Post-it
  5. Encourage Small Iterative Changes: เริ่มเปลี่ยนทีละเล็กละน้อย จากโครงการนำร่องที่ใช้วิธีการทำงานแบบ Agile ในขอบเขตที่จำกัด แล้วใช้ความสำเร็จจากโครงการนำร่องขยายสู่การปฏิบัติงานส่วนอื่นๆที่กว้างมากขึ้น และเน้นความสำคัญของการพัฒนาเป็นรอบๆ (iterations) มีการถอดบทเรียนและนำไปปรับปรุงต่อในแต่ละรอบ
  6. Promote Culture of Feedback: จัดสรรเวลาประชุมทีมเป็นประจำเพื่อทบทวนวิธีการทำงาน สะท้อนและถอดบทเรียนร่วมกัน อันจะนำไปสู่การสร้างความเป็นทีมและการพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง และสร้างบรรยากาศปลอดภัยทางจิตใจ (psychological safety) ต่อการให้และรับ feedback กันได้กับพนักงานทุกระดับ
  7. Cultivate Adaptability & Resilience: พัฒนาทักษะบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (change management skills) เพื่อให้พนักงานสามารถปรับตัวเข้ากับวิธีการทำงานแบบใหม่และเอาชนะแรงต้านที่จะกลับไปทำงานแบบเดิม พร้อมอบรมให้พนักงานเพิ่มขีดความสามารถในการฟื้นตัว (resilience) เมื่อเผชิญความท้าทายและความล้มเหลว
  8. Measurement & Data Analysis: กำหนดตัวชี้วัดที่ช่วยให้สามารถติดตามผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานแบบ Agile ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของทีมและองค์กร แล้วอาศัยข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาจุดที่จะต้องปรับปรุง และเรื่องที่จะต้องตัดสินใจเพื่อทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้มีลักษณะ Agile มากขึ้น
  9. Celebrate Successes & Learn from Failures: สร้างวัฒนธรรมที่ยกย่องชมเชยกันเมื่อประสบความสำเร็จ ทั้งบรรลุเป้าหมายสุดท้ายหรือก้าวถึงเป้าหมายย่อยระหว่างทาง การเฉลิมฉลองเป็นระยะๆจะรักษาแรงจูงใจให้ทีมอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันก็สร้างวัฒนธรรมที่กล้าเรียนรู้จากความผิดพลาดว่าเป็นโอกาสการเติบโต ไม่ใช่ความพ่ายแพ้

ด้วยแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นระบบเช่นนี้ องค์กรต่างๆ จะสามารถปลูกฝังกรอบความคิดแบบคล่องตัว (Agile Mindset) ให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกระดับ นับตั้งแต่ผู้จัดการ หัวหน้า พนักงานปฏิบัติการ และเกิดขึ้นกับพนักงานทุกฝ่ายที่จะมาร่วมมือกันข้ามสายงาน เพื่อขยายขีดความสามารถในการปรับตัว ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ และปรับปรุงกระบวนการทำงานและความพึงพอใจของลูกค้า และหากองค์กรมีการดำเนินการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดโมเมนตัมในการเปลี่ยนแปลงถึงขั้น Transformation ได้จนเห็นผลลัพธ์ใหม่

หากคุณพบว่าความคล่องตัวในการทำงาน การปรับเปลี่ยนได้อย่างว่องไว ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเอา Agile มาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์จริง หลักสูตร Agile Mindset Workshop สองหลักสูตรนี้อาจจะช่วยให้คุณมีความเข้าใจและมีขั้นตอนที่ปฏิบัติได้จริง เราขอเชิญชวนมาเริ่มต้นการเดินทางสู่ Agile ตั้งแต่วันนี้ มาสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรและทีมของคุณ

หลักสูตร Agile Mindset Workshop: The New Way of Thinking & Working That Helps Teams Adapt Faster เป็นหลักสูตร 1 วันที่เน้นเรียนรู้คุณค่าและหลักการ Agile และทดลองวิธีการทำงาน Agile-Scrum หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้จัดการ หัวหน้า และทีมข้ามสายงาน (cross-functional team) ที่มีพื้นฐาน Growth Mindset มาแล้วและต้องการหลักสูตรเร่งรัด

หลักสูตร Growth + Agile Mindset Workshop เป็นหลักสูตร 2 วันที่ปูพื้นฐาน Growth Mindset เตรียมคนให้พร้อมออกจาก Comfort Zone ด้วยความสนุก ความกล้า และความพยายาม แล้วจึงเรียนรู้คุณค่าและหลักการ Agile และทดลองวิธีการทำงาน Agile-Scrum ใน 3 สถานการณ์สำคัญคือ 1. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน 2. งานร้อน-เร่งด่วน 3. เปิดตลาดใหม่-สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่-สร้างโมเดธุรกิจใหม่ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้จัดการ หัวหน้าและทีมข้ามสายงาน (cross-functional team)

หากต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม กรุณาติดต่อได้ที่

[email protected]  |  Line@: plukrak

Benefits
  • เข้าใจความหมายและความสำคัญของ Growth Mindset & AgileMindset ในการทำงานและบริหารจัดการงานในยุค VUCA World
  • รู้จัก Growth Mindset & Fixed Mindset และเรียนรู้ออกจาก Comfort zone ของการทำงาน
  • เรียนรู้การพัฒนาทักษะการปรับปรุงงานผ่าน ooda loop
  • ทดลองวิธีการทำงานแบบ SCRum และสร้างประสบการณ์ตรงกับการทำงานอย่างว่องไวภายในกรอบเวลาจำกัดเป็นรอบๆแบบ Sprint
  • ร่วมมือกันวางแผนนำ growth mindset & agile MINDSET ไปประยุกต์ใช้จริงในหน้างาน
Who Should Attend?
  • ผู้บริหาร
  • หัวหน้างาน
  • Management Team
Duration

2 Days (09:00-16:00)

Approach
Reconstructing the New Normal of Working
กลับไป
LINE
Call
Messenger
Contact Form 2024

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หรือติดต่อ คุณสุภษณา (กล้วย) โดยตรงที่ 093-9974791 เพื่อความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น